วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ป.3



หน่วยการเรียนรู้ที่ 15 การบวก ลบ คูณ หารระคน                                       ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน                                              เวลา 4 ชั่วโมง


สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
การหาคำตอบของโจทย์ปัญหา ทำได้โดยการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา แล้วสรุปวิธีหาคำตอบโดยเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์
ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด   ค 1.2  ป.4/2  วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ และสร้างโจทย์ได้
   ค 6.1  ป.4-6/1 - ป.4-6/6

จุดประสงค์การเรียนรู้1. สามารถวิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับและศูนย์พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบได้

2. สามารถสร้างโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนได้
สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้แกนกลาง - โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการคิด - ทักษะการคิดวิเคราะห์
 - ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
กิจกรรมการเรียนรู้
(วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)

ชั่วโมงที่ 1-21. ครูนำตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวก  การลบ  การคูณ  และการหาร  มาให้นักเรียนวิเคราะห์  และหาคำตอบ  เพื่อเป็นการทบทวนความรู้เดิม

2. ครูติดแถบโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน ให้นักเรียนอ่าน  แล้วตอบคำถาม เช่น
                 มีส้มอยู่  549  ผล  แบ่งใส่ตะกร้า ตะกร้าละ 9 ผล  นำไปขาย ตะกร้าละ 32 บาท จะได้เงินกี่บาท    - สิ่งที่โจทย์กำหนดให้คืออะไร (จำนวนส้มที่มีอยู่ จำนวนส้มที่แบ่งใส่ตะกร้า และราคาขายส้ม)    - สิ่งที่โจทย์ถามคืออะไร (จำนวนเงินที่ขายส้มได้)    - คิดหาคำตอบได้อย่างไร (การหารและการคูณ)    - เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์และแสดงวิธีทำได้อย่างไร
      ประโยคสัญลักษณ์  (549 ÷ 9) × 32 = __
     
3. ครูยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนอีก 2-3 ข้อ ให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์โจทย์และหาคำตอบ และครูให้นักเรียนดูตัวอย่างจากหนังสือเรียนเพิ่มเติม  
4. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน แล้วกำหนดจำนวน 3 จำนวน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มลองช่วยกันสร้างโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เสร็จแล้วส่งตัวแทนออกมานำเสนอที่หน้าชั้น
5. ครูยกตัวอย่างสถานการณ์ต่างๆ ให้นักเรียนกล่มเดิมช่วยกันสร้างโจทย์ปัญหา แล้วส่งตัวแทนออกนำเสนอที่หน้าชั้นเรียน
6. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน จากหนังสือเรียน  เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

ชั่วโมงที่ 3-41. ครูยกตัวอย่างสถานการณ์ให้นักเรียนวิเคราะห์และตอบคำถาม เช่น

        แม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยวได้ 250 ชาม ราคาชามละ 25 บาท นำไปฝากธนาคาร 3,250 บาท แม่ค้าเหลือเงินกี่บาท    - สิ่งที่โจทย์กำหนดให้คืออะไร (จำนวนก๋วยเตี๋ยวที่ขายได้ ราคาก๋วยเตี๋ยว และจำนวนเงินที่นำไปฝากธนาคาร)    - สิ่งที่โจทย์ถามคืออะไร (จำนวนเงินที่เหลือ)    - คิดหาคำตอบได้อย่างไร (การคูณและการลบ)    จากนั้นให้นักเรียนแสดงวิธีทำลงในสมุด
2. หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า
    - การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน  ให้อ่านโจทย์ให้เข้าใจก่อน  แล้ววิเคราะห์โจทย์ว่าโจทย์กำหนดอะไรให้  โจทย์ถามอะไร  และหาคำตอบด้วยวิธีใดบ้าง3. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน ข้อ 1-2 จากหนังสือแบบฝึกหัด เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม
4. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง โจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับ เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยใบงาน
5. ครูมอบหมายให้นักเรียนจัดทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ 15.1 เรื่อง การหาค่าเฉลี่ย โดยให้นักเรียนจดบันทึกรายจ่ายของตนเองเป็นเวลา 1  เดือน  แล้วหายอดรายจ่ายรวมทั้งเดือน  จากนั้นนำไปคิดหาค่าเฉลี่ยต่อวันว่าใช้จ่ายเงินไปเท่าใด แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นโจทย์ปัญหา พร้อมหาคำตอบ
6. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดส่งผลงาน

นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่  15
การวัดผลและประเมินผล


วิธีการวัด
เครื่องมือ
เกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 2.1
 ใบงานที่ 2.1
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ 15.1 เรื่อง
 การหาค่าเฉลี่ย
 แบบประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน
 ที่ 15.1 เรื่อง การหาค่าเฉลี่ย
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
 สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
 สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน
 แบบทดสอบหลังเรียน
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้1. หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ป.4
2. แบบฝึกหัด คณิตศาสตร์ ป.4
3. ใบงานที่ 2.1 เรื่อง โจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับ












คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้  
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
ภาษาไทย ป. ๓เล่ม ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ 










คำชี้แจงการจัดแผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย



แนวทางการใช้แผนการจัดการเรียนรู้

                
           
            คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาไทย เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ครูใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ซึ่งการแบ่งหน่วยการเรียนรู้สำหรับจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงในคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๘ หน่วย สามารถใช้ควบคู่กับสื่อการเรียนรู้ ภาษาไทย สมบูรณ์แบบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เล่ม ๑ และหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๑  นิทานอีสป เรื่อง หมาจิ้งจอกกับแพะ
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๒  ดนตรีในไพรกว้าง
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๓  สมบัติของผู้ดี
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๔  เพลงกล่อมเด็กของคุณยาย
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๕  ดาวลูกไก่
                หน่วยการเรียนรู้ที่  ๖  กวางป่าสามพี่น้อง
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๗  ก้าวทันโลก
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๘  บทละครนอกเรื่อง ไชยเชษฐ์
                                     ตอน พระนารายณ์ธิเบศร์พบพ่อ
            คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้นี้ได้นำเสนอรายละเอียดไว้ครบถ้วนตามแนวทางการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ยังได้ออกแบบ กิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้พัฒนาองค์ความรู้ สมรรถนะสำคัญ และลักษณะอันพึงประสงค์ไว้อย่างครบถ้วนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑        ครูควรศึกษาคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้นี้ให้ละเอียดเพื่อปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สถานการณ์ และสภาพของนักเรียน
            ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้จะแบ่งแผนการจัดการเรียนรู้ออกเป็นรายชั่วโมง ซึ่งมีจำนวนมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความยาวของเนื้อหาสาระ และในแต่ละหน่วยการเรียนรู้มีองค์ประกอบดังนี้
            ๑. ผังมโนทัศน์เป้าหมายการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน แสดงขอบข่ายเนื้อหาการจัด การเรียนรู้ที่ครอบคลุมความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม  ทักษะและกระบวนการ และภาระงาน/ชิ้นงาน
            ๒. กรอบแนวคิดการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design (Backward Design Template) เป็นกรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ แบ่งเป็น ๓ ขั้น ได้แก่
            ขั้นที่ ๑ ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
            ขั้นที่ ๒ ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง 
            ขั้นที่ ๓ แผนการจัดการเรียนรู้ จะระบุว่าในหน่วยการเรียนรู้นี้แบ่งเป็นแผนการจัดการเรียนรู้กี่แผน และแต่ละแผนใช้เวลาในการจัดกิจกรรมกี่ชั่วโมง
            ๓. แผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดการ  ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design ประกอบด้วย
                   ๓.๑ ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยลำดับที่ของแผน ชื่อแผน และเวลาเรียน เช่น แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง การอ่านเรื่อง นิทานอีสป เรื่อง หมาจิ้งจอกกับแพะ เวลา ๓ ชั่วโมง
                   ๓.๒ สาระสำคัญ เป็นความคิดรวบยอดของเนื้อหาที่นำมาจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผน การจัดการเรียนรู้
                   ๓.๓ ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ตรวจสอบนักเรียนหลังจากเรียนจบเนื้อหาที่นำเสนอในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้นั้น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
                   ๓.๔ จุดประสงค์การเรียนรู้  เป็นส่วนที่บอกจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่นักเรียนภายหลังจากการเรียนจบในแต่ละแผน ทั้งในด้านความรู้ (K) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม (A) และด้านทักษะและกระบวนการ (P) ซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กับตัวชี้วัดชั้นปีและเนื้อหาในแผนการจัดการเรียนรู้นั้น ๆ

๓.๕ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้ว่าหลังจากจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว นักเรียนมีพัฒนาการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้หรือไม่ และมีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงส่งเสริมในด้านใดบ้าง ดังนั้น ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้จึงได้ออกแบบวิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของนักเรียนไว้อย่างหลากหลาย เช่น การทำแบบทดสอบ การตอบคำถามสั้น ๆ การตรวจผลงาน การประเมินพฤติกรรมทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม โดยเน้นการปฏิบัติให้สอดคล้องและเหมาะสมกับตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้
            วิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เหล่านี้ครูสามารถนำไปใช้ประเมินนักเรียนได้ ทั้งในระหว่างการจัดการเรียนรู้และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
                   ๓.๖ สาระการเรียนรู้ เป็นหัวข้อย่อยที่นำมาจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้แกนกลาง
                   ๓.๗ แนวทางบูรณาการ เป็นการเสนอแนะแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียนรู้ของแต่ละแผนให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ ศิลปะ สุขศึกษาและพลศึกษา และการงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อให้การเรียนรู้สอดคล้องและครอบคลุมสถานการณ์จริง
                    ๓.๘ กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นการเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาในแต่ละเรื่อง โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ครูนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย ๕ ขั้น ได้แก่
                    ขั้นที่ ๑   นำเข้าสู่บทเรียน
                    ขั้นที่ ๒   กิจกรรมการเรียนรู้
                    ขั้นที่ ๓   ฝึกฝนผู้เรียน
                    ขั้นที่ ๔   นำไปใช้
                   ขั้นที่ ๕   สรุป
                   ๓.๙ กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมเสนอแนะสำหรับให้นักเรียนได้พัฒนาเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ นอกเหนือจากที่ได้จัดการเรียนรู้มาแล้วในชั่วโมงเรียน กิจกรรมเสนอแนะมี ๒ ลักษณะ คือ กิจกรรมสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษและต้องการศึกษาค้นคว้าในเนื้อหานั้น ๆ ให้ลึกซึ้งกว้างขวางยิ่งขึ้น และกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ให้ครบตามเป้าหมาย ซึ่งมีลักษณะเป็นการซ่อมเสริม
                   ๓.๑๐ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ เป็นรายชื่อสื่อการเรียนรู้ทุกประเภทที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และสื่อบุคคล เช่น หนังสือ เอกสารความรู้ รูปภาพ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต วีดิทัศน์ ปราชญ์ชาวบ้าน
                   ๓.๑๑ บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ เป็นส่วนที่ให้ครูบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง ได้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นอย่างไร สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผนมีอะไรบ้าง และข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป
                    นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกให้ครู โดยจัดทำแบบทดสอบต่าง ๆ และความรู้เสริมสำหรับครูบันทึกลงในแผ่นซีดี (CD) ประกอบด้วย
                    ๑) มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
                    ๒) กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
                    ๓) โครงงาน (Project Work)
                    ๔) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
                    ๕) ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design
                    ๖) รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงที่ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด
                       Backward Design
                    ๗) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
                    ๘) แบบทดสอบปลายปี
                    ๙) ใบงาน แบบบันทึก และแบบประเมินต่าง ๆ
                    ครูควรศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ จัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้พัฒนาครบทุกสมรรถนะสำคัญที่กำหนดไว้ในหลักสูตร กล่าวคือ สมรรถนะในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี รวมถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และกิจกรรมเสนอแนะเพื่อการเรียนรู้เพิ่มเติมให้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้นี้แล้ว
            นอกจากนี้ครูสามารถปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพความพร้อมของนักเรียนและสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ ซึ่งจะใช้เป็นผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะได้ แผนการจัดการเรียนรู้นี้ได้อำนวยความสะดวกให้ครู โดยได้พิมพ์โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออก แบบการเรียนรู้แบบ Backward Design ให้ครูเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่ครูปรับปรุงเองไว้ด้วยแล้ว