คู่มือครู
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ภาษาไทย ป.
๓ เล่ม ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
คำชี้แจงการจัดแผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
แนวทางการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้
ภาษาไทย เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ครูใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ซึ่งการแบ่งหน่วยการเรียนรู้สำหรับจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงในคู่มือครู
แผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๘ หน่วย
สามารถใช้ควบคู่กับสื่อการเรียนรู้ ภาษาไทย สมบูรณ์แบบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เล่ม
๑ และหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
นิทานอีสป เรื่อง หมาจิ้งจอกกับแพะ
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ ดนตรีในไพรกว้าง
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ สมบัติของผู้ดี
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ เพลงกล่อมเด็กของคุณยาย
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ ดาวลูกไก่
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ กวางป่าสามพี่น้อง
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ ก้าวทันโลก
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘ บทละครนอกเรื่อง ไชยเชษฐ์
ตอน พระนารายณ์ธิเบศร์พบพ่อ
คู่มือครู
แผนการจัดการเรียนรู้นี้ได้นำเสนอรายละเอียดไว้ครบถ้วนตามแนวทางการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นอกจากนี้ยังได้ออกแบบ กิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้พัฒนาองค์ความรู้
สมรรถนะสำคัญ
และลักษณะอันพึงประสงค์ไว้อย่างครบถ้วนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ ครูควรศึกษาคู่มือครู
แผนการจัดการเรียนรู้นี้ให้ละเอียดเพื่อปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
สถานการณ์ และสภาพของนักเรียน
ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้จะแบ่งแผนการจัดการเรียนรู้ออกเป็นรายชั่วโมง
ซึ่งมีจำนวนมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความยาวของเนื้อหาสาระ
และในแต่ละหน่วยการเรียนรู้มีองค์ประกอบดังนี้
๑.
ผังมโนทัศน์เป้าหมายการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน แสดงขอบข่ายเนื้อหาการจัด
การเรียนรู้ที่ครอบคลุมความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ทักษะและกระบวนการ และภาระงาน/ชิ้นงาน
๒.
กรอบแนวคิดการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design (Backward
Design Template) เป็นกรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้
แบ่งเป็น ๓ ขั้น ได้แก่
ขั้นที่ ๑
ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ขั้นที่ ๒
ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง
ขั้นที่ ๓ แผนการจัดการเรียนรู้
จะระบุว่าในหน่วยการเรียนรู้นี้แบ่งเป็นแผนการจัดการเรียนรู้กี่แผน
และแต่ละแผนใช้เวลาในการจัดกิจกรรมกี่ชั่วโมง
๓. แผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดการ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design ประกอบด้วย
๓.๑ ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยลำดับที่ของแผน
ชื่อแผน และเวลาเรียน เช่น แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง การอ่านเรื่อง
นิทานอีสป เรื่อง หมาจิ้งจอกกับแพะ เวลา ๓ ชั่วโมง
๓.๒ สาระสำคัญ เป็นความคิดรวบยอดของเนื้อหาที่นำมาจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผน
การจัดการเรียนรู้
๓.๓
ตัวชี้วัดชั้นปี
เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ตรวจสอบนักเรียนหลังจากเรียนจบเนื้อหาที่นำเสนอในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้นั้น
ๆ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
๓.๔ จุดประสงค์การเรียนรู้
เป็นส่วนที่บอกจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่นักเรียนภายหลังจากการเรียนจบในแต่ละแผน
ทั้งในด้านความรู้ (K) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม (A)
และด้านทักษะและกระบวนการ (P)
ซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กับตัวชี้วัดชั้นปีและเนื้อหาในแผนการจัดการเรียนรู้นั้น ๆ
๓.๕ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เป็นการตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้ว่าหลังจากจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว
นักเรียนมีพัฒนาการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้หรือไม่
และมีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงส่งเสริมในด้านใดบ้าง ดังนั้น
ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้จึงได้ออกแบบวิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านต่าง
ๆ ของนักเรียนไว้อย่างหลากหลาย เช่น การทำแบบทดสอบ การตอบคำถามสั้น ๆ การตรวจผลงาน
การประเมินพฤติกรรมทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
โดยเน้นการปฏิบัติให้สอดคล้องและเหมาะสมกับตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้
วิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เหล่านี้ครูสามารถนำไปใช้ประเมินนักเรียนได้
ทั้งในระหว่างการจัดการเรียนรู้และการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ตลอดจนการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
๓.๖ สาระการเรียนรู้
เป็นหัวข้อย่อยที่นำมาจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้
ซึ่งสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้แกนกลาง
๓.๗
แนวทางบูรณาการ เป็นการเสนอแนะแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียนรู้ของแต่ละแผนให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้อื่น
ๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ
ศิลปะ สุขศึกษาและพลศึกษา และการงานอาชีพและเทคโนโลยี
เพื่อให้การเรียนรู้สอดคล้องและครอบคลุมสถานการณ์จริง
๓.๘ กระบวนการจัดการเรียนรู้
เป็นการเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาในแต่ละเรื่อง
โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ครูนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย ๕ ขั้น
ได้แก่
ขั้นที่ ๑ นำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นที่ ๒ กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ ๓ ฝึกฝนผู้เรียน
ขั้นที่ ๔ นำไปใช้
ขั้นที่ ๕ สรุป
๓.๙ กิจกรรมเสนอแนะ
เป็นกิจกรรมเสนอแนะสำหรับให้นักเรียนได้พัฒนาเพิ่มเติมในด้านต่าง
ๆ นอกเหนือจากที่ได้จัดการเรียนรู้มาแล้วในชั่วโมงเรียน กิจกรรมเสนอแนะมี ๒ ลักษณะ
คือ กิจกรรมสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษและต้องการศึกษาค้นคว้าในเนื้อหานั้น ๆ
ให้ลึกซึ้งกว้างขวางยิ่งขึ้น และกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ให้ครบตามเป้าหมาย
ซึ่งมีลักษณะเป็นการซ่อมเสริม
๓.๑๐ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
เป็นรายชื่อสื่อการเรียนรู้ทุกประเภทที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้
ซึ่งมีทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และสื่อบุคคล เช่น หนังสือ
เอกสารความรู้ รูปภาพ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต วีดิทัศน์ ปราชญ์ชาวบ้าน
๓.๑๑ บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
เป็นส่วนที่ให้ครูบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง ได้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นอย่างไร
สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผนมีอะไรบ้าง
และข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป
นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกให้ครู
โดยจัดทำแบบทดสอบต่าง ๆ และความรู้เสริมสำหรับครูบันทึกลงในแผ่นซีดี (CD)
ประกอบด้วย
๑) มาตรฐานการเรียนรู้
ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๒)
กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
๓) โครงงาน (Project Work)
๔)
แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
๕)
ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design
๖)
รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงที่ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด
Backward Design
๗) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
๘) แบบทดสอบปลายปี
๙) ใบงาน แบบบันทึก
และแบบประเมินต่าง ๆ
ครูควรศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้พัฒนาครบทุกสมรรถนะสำคัญที่กำหนดไว้ในหลักสูตร กล่าวคือ
สมรรถนะในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี
รวมถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และกิจกรรมเสนอแนะเพื่อการเรียนรู้เพิ่มเติมให้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน
ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้นี้แล้ว
นอกจากนี้ครูสามารถปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพความพร้อมของนักเรียนและสถานการณ์เฉพาะหน้าได้
ซึ่งจะใช้เป็นผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะได้ แผนการจัดการเรียนรู้นี้ได้อำนวยความสะดวกให้ครู
โดยได้พิมพ์โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออก แบบการเรียนรู้แบบ Backward Design ให้ครูเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่ครูปรับปรุงเองไว้ด้วยแล้ว
โครงสร้างการแบ่งเวลารายชั่วโมงในการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้/
แผนการจัดการเรียนรู้
|
เรื่อง
|
เวลา/
จำนวนชั่วโมง
|
หน่วยการเรียนรู้ที่
๑
|
นิทานอีสป
เรื่อง หมาจิ้งจอกกับแพะ
|
๑๐
|
หน่วยการเรียนรู้ที่
๒
|
ดนตรีในไพรกว้าง
|
๑๕
|
หน่วยการเรียนรู้ที่
๓
|
สมบัติของผู้ดี
|
๑๒
|
หน่วยการเรียนรู้ที่
๔
|
เพลงกล่อมเด็กของคุณยาย
|
๑๓
|
หน่วยการเรียนรู้ที่
๕
|
ดาวลูกไก่
|
๑๐
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖
|
กวางป่าสามพี่น้อง
|
๑๓
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗
|
ก้าวทันโลก
|
๑๒
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘
|
บทละครนอก
เรื่อง พระไชยเชษฐ์
ตอน
พระนารายณ์ธิเบศร์พบพ่อ
|
๑๓
|
ทดสอบปลายภาคเรียน
|
๒
|
|
รวม
|
๑๐๐
|
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้
การอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด
สาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เวลา ๒ ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ นิทานอีสปเรื่อง หมาจิ้งจอกกับแพะ
๑. สาระสำคัญ
การอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดถูกต้อง
เป็นพื้นฐานสำคัญในการอ่านและ
การเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราที่พบในสาระการเรียนรู้อื่นและในชีวิตประจำวัน
๒. ตัวชี้วัดชั้นปี
๑. อ่านออกเสียงคำ
ข้อความ เรื่องสั้น ๆ และบทร้อยกรองง่าย ๆ ได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว
ท ๑.๑ (ป. ๓/๑)
๒.
เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ ท ๔.๑ (ป. ๓/๑)
๓. แต่งประโยคง่าย ๆ
ท ๔.๑ (ป. ๓/๔)
๓.
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑.
อ่านและเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดได้ (K, P)
๒.
เรียบเรียงคำเป็นประโยคได้ตรงความหมายที่ต้องการ (K, P)
๓.
ใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (P)
๔.
มีความสนใจในการเรียนภาษาไทย (A)
๔. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
|
ด้านคุณธรรม
จริยธรรม และ
ค่านิยม (A)
|
ด้านทักษะและกระบวนการ
(P)
|
๑. สังเกตการตอบคำถามและ
การอ่านสะกดคำ
๒. ตรวจผลการทำกิจกรรม
|
๑.
ประเมินพฤติกรรมในการทำงานเป็น รายบุคคลในด้านความสนใจและตั้งใจเรียน
ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม ความมีระเบียบวินัยในการทำงาน ฯลฯ
๒.
ประเมินเจตคติที่ดีต่อการเรียน
ภาษาไทย
|
๑. ประเมินทักษะการอ่านออกเสียง
ร้อยแก้ว
๒. ประเมินทักษะการเขียน
๓. ประเมินทักษะกระบวนการคิด
๔. ประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม
|
๕. สาระการเรียนรู้
การอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด
๖.
แนวทางบูรณาการ
สุขศึกษาฯ
เล่นเกมค้นคำตามมาตรา

การงานอาชีพฯ
ทำสมุดอ่านสะกดคำ

๗.
กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ ๑ นำเข้าสู่บทเรียน
๑.
นักเรียนอ่านแถบข้อความบนกระดาน แล้วบอกความแตกต่างของข้อความ
กินลมชมวิว |
เราดูปูในนา |
๒.
ครูแนะให้นักเรียนเห็นว่าข้อความแรกใช้คำที่ไม่มีตัวสะกด
ส่วนข้อความหลังใช้คำที่มี
ตัวสะกดทุกคำ
๓.
ครูนำสนทนาโยงเข้าเรื่อง คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด
ขั้นที่ ๒
กิจกรรมการเรียนรู้
๑.
แบ่งนักเรียนออกเป็น ๕ กลุ่ม
ให้แต่ละกลุ่มศึกษาเรื่อง การอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด
ในหนังสือเรียน/สื่อการเรียนรู้ ภาษาไทย สมบูรณ์แบบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
แล้วช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษา
๒.
นักเรียนแต่ละกลุ่มเล่นเกม
ค้นคำตามมาตรา โดยให้ครูบอกมาตราตัวสะกด นักเรียนแต่ละ
กลุ่มระดมสมองค้นคำตามมาตราที่ครูบอกมาเขียนให้ได้มากที่สุดภายในเวลา ๒
นาที ครู
เปลี่ยนมาตราตัวสะกดจนครบทุกมาตราตัวสะกด
แล้วร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง กลุ่มใด
เขียนคำได้มากที่สุดและถูกต้องเป็นผู้ชนะ
๓.
นักเรียนจับคู่กันฝึกอ่านสะกดคำจากชุดคำต่อไปนี้
จนคล่อง
|
๔.
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคำจากชุดคำในข้อ ๓
มาเรียบเรียงเป็นประโยค เชื่อมโยงให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน
แล้วนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ ๓ ฝึกฝนผู้เรียน
๑.
นักเรียนทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านสะกดคำที่มีมาตราตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด
แล้วช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
๒.
นักเรียนทำใบงานที่ ๑ เรื่อง
คำที่มีตัวสะกดตรงตามาตราตัวสะกด แล้วช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
๓.
แบ่งนักเรียนออกเป็น ๘ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาจับสลากหัวข้อมาตราตัวสะกด
๘ แม่ แล้วอ่านนิทานอีสปเรื่อง หมาจิ้งจอกกับแพะ เพื่อรวบรวมคำในมาตราตัวสะกดที่จับสลากได้
๔.
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
แล้วให้เพื่อนกลุ่มอื่นช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
ขั้นที่ ๔ นำไปใช้
นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในการอ่านและเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดในประโยค
หรือข้อความที่พบในชีวิตประจำวัน
ขั้นที่ ๕ สรุป
นักเรียนช่วยกันสรุปเรื่อง
คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด แล้วบันทึกลงสมุด
๘.
กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนรวบรวมคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดในหนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
แล้วนำมาทำเป็นสมุดอ่านสะกดคำ
๙. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
๑. แถบข้อความ
๒. ชุดคำฝึกอ่าน
๓. สลาก
๔. ใบงานที่ ๑ เรื่อง
คำที่มีตัวสะกดตรงตามาตราตัวสะกด
๕. สื่อการเรียนรู้ ภาษาไทย สมบูรณ์แบบ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เล่ม ๑
บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
๖. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
๗. แบบฝึกหัด รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
บริษัท
สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
ภาพจาก www.ccscat.ac.th
วิดีโอ มาตราตัวสะกด
ขอบขอบคุณ
สุระ
ดามาพงษ์ กศ.บ., กศ.ม.
ทัศนีย์
ล้วนสละ ศศ.บ.
พูนพิพัฒน์
สถาวระ ศศ.บ.
ฉันรู้สึกขอบคุณดร. คารามที่ช่วยฉันชนะการจับสลาก ฉันได้เล่นหวยสำหรับ 5yrs ตอนนี้และฉันไม่เคยได้รับรางวัลอะไรและฉันก็ผิดหวังมากและฉันต้องการเงินเพื่อช่วยครอบครัวของฉัน ฉันกำลังมองหาความช่วยเหลือเพื่อชนะและฉันก็ออนไลน์และฉันเห็นประจักษ์พยานที่ดีมากเกี่ยวกับดร. Kumar เกี่ยวกับวิธีการที่เขาช่วยให้คนที่จะชนะการจับสลากและฉันสัญญากับตัวเองว่าฉันจะให้เขาลองและถ้าเขาช่วยฉันฉันก็จะ เผยแพร่ชื่อของเขาในสุทธิสำหรับคนที่จะเห็นและได้รับความช่วยเหลือจากเขาซึ่งฉันทำตอนนี้โดยการเขียนพยานหลักฐานนี้ฉันติดต่อเขาและเขาโยนสะกดตัวเลขที่ชนะและให้พวกเขาให้ฉันเล่นและฉันซื้อตั๋วและเล่นของฉัน เห็นฉันได้รับรางวัล $ 120,000,000 หากคุณต้องการความช่วยเหลือจากเขาในการชนะการจับสลากนี่คืออีเมลของเขา: spellcasttemple@gmail.com หรือคุณสามารถโทรหาเขาได้ที่ +2347051705853 ฉันจะยินดีเป็นอย่างยิ่งที่คุณ Dr Kumar สำหรับสิ่งที่คุณทำกับฉันอีเมลเขาที่ SPELLCASTTEMPLE@GMAIL.COM
ตอบลบ