วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้  
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
ภาษาไทย ป. ๓เล่ม ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ 










คำชี้แจงการจัดแผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย



แนวทางการใช้แผนการจัดการเรียนรู้

                
           
            คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาไทย เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ครูใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ซึ่งการแบ่งหน่วยการเรียนรู้สำหรับจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงในคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๘ หน่วย สามารถใช้ควบคู่กับสื่อการเรียนรู้ ภาษาไทย สมบูรณ์แบบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เล่ม ๑ และหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๑  นิทานอีสป เรื่อง หมาจิ้งจอกกับแพะ
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๒  ดนตรีในไพรกว้าง
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๓  สมบัติของผู้ดี
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๔  เพลงกล่อมเด็กของคุณยาย
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๕  ดาวลูกไก่
                หน่วยการเรียนรู้ที่  ๖  กวางป่าสามพี่น้อง
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๗  ก้าวทันโลก
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๘  บทละครนอกเรื่อง ไชยเชษฐ์
                                     ตอน พระนารายณ์ธิเบศร์พบพ่อ
            คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้นี้ได้นำเสนอรายละเอียดไว้ครบถ้วนตามแนวทางการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ยังได้ออกแบบ กิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้พัฒนาองค์ความรู้ สมรรถนะสำคัญ และลักษณะอันพึงประสงค์ไว้อย่างครบถ้วนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑        ครูควรศึกษาคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้นี้ให้ละเอียดเพื่อปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สถานการณ์ และสภาพของนักเรียน
            ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้จะแบ่งแผนการจัดการเรียนรู้ออกเป็นรายชั่วโมง ซึ่งมีจำนวนมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความยาวของเนื้อหาสาระ และในแต่ละหน่วยการเรียนรู้มีองค์ประกอบดังนี้
            ๑. ผังมโนทัศน์เป้าหมายการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน แสดงขอบข่ายเนื้อหาการจัด การเรียนรู้ที่ครอบคลุมความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม  ทักษะและกระบวนการ และภาระงาน/ชิ้นงาน
            ๒. กรอบแนวคิดการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design (Backward Design Template) เป็นกรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ แบ่งเป็น ๓ ขั้น ได้แก่
            ขั้นที่ ๑ ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
            ขั้นที่ ๒ ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง 
            ขั้นที่ ๓ แผนการจัดการเรียนรู้ จะระบุว่าในหน่วยการเรียนรู้นี้แบ่งเป็นแผนการจัดการเรียนรู้กี่แผน และแต่ละแผนใช้เวลาในการจัดกิจกรรมกี่ชั่วโมง
            ๓. แผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดการ  ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design ประกอบด้วย
                   ๓.๑ ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยลำดับที่ของแผน ชื่อแผน และเวลาเรียน เช่น แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง การอ่านเรื่อง นิทานอีสป เรื่อง หมาจิ้งจอกกับแพะ เวลา ๓ ชั่วโมง
                   ๓.๒ สาระสำคัญ เป็นความคิดรวบยอดของเนื้อหาที่นำมาจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผน การจัดการเรียนรู้
                   ๓.๓ ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ตรวจสอบนักเรียนหลังจากเรียนจบเนื้อหาที่นำเสนอในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้นั้น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
                   ๓.๔ จุดประสงค์การเรียนรู้  เป็นส่วนที่บอกจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่นักเรียนภายหลังจากการเรียนจบในแต่ละแผน ทั้งในด้านความรู้ (K) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม (A) และด้านทักษะและกระบวนการ (P) ซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กับตัวชี้วัดชั้นปีและเนื้อหาในแผนการจัดการเรียนรู้นั้น ๆ

๓.๕ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้ว่าหลังจากจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว นักเรียนมีพัฒนาการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้หรือไม่ และมีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงส่งเสริมในด้านใดบ้าง ดังนั้น ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้จึงได้ออกแบบวิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของนักเรียนไว้อย่างหลากหลาย เช่น การทำแบบทดสอบ การตอบคำถามสั้น ๆ การตรวจผลงาน การประเมินพฤติกรรมทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม โดยเน้นการปฏิบัติให้สอดคล้องและเหมาะสมกับตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้
            วิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เหล่านี้ครูสามารถนำไปใช้ประเมินนักเรียนได้ ทั้งในระหว่างการจัดการเรียนรู้และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
                   ๓.๖ สาระการเรียนรู้ เป็นหัวข้อย่อยที่นำมาจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้แกนกลาง
                   ๓.๗ แนวทางบูรณาการ เป็นการเสนอแนะแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียนรู้ของแต่ละแผนให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ ศิลปะ สุขศึกษาและพลศึกษา และการงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อให้การเรียนรู้สอดคล้องและครอบคลุมสถานการณ์จริง
                    ๓.๘ กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นการเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาในแต่ละเรื่อง โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ครูนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย ๕ ขั้น ได้แก่
                    ขั้นที่ ๑   นำเข้าสู่บทเรียน
                    ขั้นที่ ๒   กิจกรรมการเรียนรู้
                    ขั้นที่ ๓   ฝึกฝนผู้เรียน
                    ขั้นที่ ๔   นำไปใช้
                   ขั้นที่ ๕   สรุป
                   ๓.๙ กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมเสนอแนะสำหรับให้นักเรียนได้พัฒนาเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ นอกเหนือจากที่ได้จัดการเรียนรู้มาแล้วในชั่วโมงเรียน กิจกรรมเสนอแนะมี ๒ ลักษณะ คือ กิจกรรมสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษและต้องการศึกษาค้นคว้าในเนื้อหานั้น ๆ ให้ลึกซึ้งกว้างขวางยิ่งขึ้น และกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ให้ครบตามเป้าหมาย ซึ่งมีลักษณะเป็นการซ่อมเสริม
                   ๓.๑๐ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ เป็นรายชื่อสื่อการเรียนรู้ทุกประเภทที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และสื่อบุคคล เช่น หนังสือ เอกสารความรู้ รูปภาพ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต วีดิทัศน์ ปราชญ์ชาวบ้าน
                   ๓.๑๑ บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ เป็นส่วนที่ให้ครูบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง ได้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นอย่างไร สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผนมีอะไรบ้าง และข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป
                    นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกให้ครู โดยจัดทำแบบทดสอบต่าง ๆ และความรู้เสริมสำหรับครูบันทึกลงในแผ่นซีดี (CD) ประกอบด้วย
                    ๑) มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
                    ๒) กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
                    ๓) โครงงาน (Project Work)
                    ๔) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
                    ๕) ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design
                    ๖) รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงที่ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด
                       Backward Design
                    ๗) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
                    ๘) แบบทดสอบปลายปี
                    ๙) ใบงาน แบบบันทึก และแบบประเมินต่าง ๆ
                    ครูควรศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ จัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้พัฒนาครบทุกสมรรถนะสำคัญที่กำหนดไว้ในหลักสูตร กล่าวคือ สมรรถนะในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี รวมถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และกิจกรรมเสนอแนะเพื่อการเรียนรู้เพิ่มเติมให้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้นี้แล้ว
            นอกจากนี้ครูสามารถปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพความพร้อมของนักเรียนและสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ ซึ่งจะใช้เป็นผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะได้ แผนการจัดการเรียนรู้นี้ได้อำนวยความสะดวกให้ครู โดยได้พิมพ์โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออก แบบการเรียนรู้แบบ Backward Design ให้ครูเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่ครูปรับปรุงเองไว้ด้วยแล้ว 





โครงสร้างการแบ่งเวลารายชั่วโมงในการจัดการเรียนรู้
   

หน่วยการเรียนรู้/
แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง
เวลา/
จำนวนชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
นิทานอีสป เรื่อง หมาจิ้งจอกกับแพะ
๑๐
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒
ดนตรีในไพรกว้าง
๑๕
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓
สมบัติของผู้ดี
๑๒
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
เพลงกล่อมเด็กของคุณยาย
๑๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕
ดาวลูกไก่
๑๐
หน่วยการเรียนรู้ที่
กวางป่าสามพี่น้อง
๑๓
หน่วยการเรียนรู้ที่
ก้าวทันโลก
๑๒
หน่วยการเรียนรู้ที่
บทละครนอก เรื่อง พระไชยเชษฐ์
ตอน พระนารายณ์ธิเบศร์พบพ่อ
๑๓
                                                ทดสอบปลายภาคเรียน
                                                                      รวม
๑๐๐

               


 แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

  ตัวอย่าง   แผนการจัดการเรียนรู้
การอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด


  สาระการเรียนรู้        ภาษาไทย
   ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓                      เวลา ๒ ชั่วโมง
  หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑   นิทานอีสปเรื่อง หมาจิ้งจอกกับแพะ




๑. สาระสำคัญ                       
            การอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดถูกต้อง เป็นพื้นฐานสำคัญในการอ่านและ
การเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราที่พบในสาระการเรียนรู้อื่นและในชีวิตประจำวัน

๒. ตัวชี้วัดชั้นปี
๑. อ่านออกเสียงคำ ข้อความ เรื่องสั้น ๆ และบทร้อยกรองง่าย ๆ ได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว      
 ท ๑.๑ (ป. ๓/๑)
๒. เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ ท ๔.๑ (ป. ๓/๑)
๓. แต่งประโยคง่าย ๆ ท ๔.๑ (ป. ๓/๔)

๓. จุดประสงค์การเรียนรู้
                ๑. อ่านและเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดได้ (K, P)
          ๒. เรียบเรียงคำเป็นประโยคได้ตรงความหมายที่ต้องการ (K, P)
๓. ใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (P)
          ๔. มีความสนใจในการเรียนภาษาไทย (A)

 ๔. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ค่านิยม (A)
ด้านทักษะและกระบวนการ (P)
๑.  สังเกตการตอบคำถามและ     
 การอ่านสะกดคำ
๒.   ตรวจผลการทำกิจกรรม


๑. ประเมินพฤติกรรมในการทำงานเป็น รายบุคคลในด้านความสนใจและตั้งใจเรียน ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม ความมีระเบียบวินัยในการทำงาน ฯลฯ
๒.  ประเมินเจตคติที่ดีต่อการเรียน 
       ภาษาไทย
๑. ประเมินทักษะการอ่านออกเสียง
    ร้อยแก้ว
๒.    ประเมินทักษะการเขียน
๓. ประเมินทักษะกระบวนการคิด
๔. ประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม


๕. สาระการเรียนรู้
การอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด

๖. แนวทางบูรณาการ
สุขศึกษาฯ                         เล่นเกมค้นคำตามมาตรา
การงานอาชีพฯ                ทำสมุดอ่านสะกดคำ

๗. กระบวนการจัดการเรียนรู้
    ขั้นที่ ๑ นำเข้าสู่บทเรียน
              ๑. นักเรียนอ่านแถบข้อความบนกระดาน แล้วบอกความแตกต่างของข้อความ

       กินลมชมวิว

        เราดูปูในนา
 


๒. ครูแนะให้นักเรียนเห็นว่าข้อความแรกใช้คำที่ไม่มีตัวสะกด ส่วนข้อความหลังใช้คำที่มี
     ตัวสะกดทุกคำ
๓. ครูนำสนทนาโยงเข้าเรื่อง คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด

     ขั้นที่ ๒ กิจกรรมการเรียนรู้
๑.      แบ่งนักเรียนออกเป็น ๕ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มศึกษาเรื่อง การอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด ในหนังสือเรียน/สื่อการเรียนรู้ ภาษาไทย สมบูรณ์แบบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ แล้วช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษา
๒.    นักเรียนแต่ละกลุ่มเล่นเกม ค้นคำตามมาตรา โดยให้ครูบอกมาตราตัวสะกด นักเรียนแต่ละ
    กลุ่มระดมสมองค้นคำตามมาตราที่ครูบอกมาเขียนให้ได้มากที่สุดภายในเวลา ๒ นาที ครู
    เปลี่ยนมาตราตัวสะกดจนครบทุกมาตราตัวสะกด แล้วร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง กลุ่มใด
    เขียนคำได้มากที่สุดและถูกต้องเป็นผู้ชนะ
๓.     นักเรียนจับคู่กันฝึกอ่านสะกดคำจากชุดคำต่อไปนี้ จนคล่อง

เอ็น                     เอื่อย               แดด                แบบ
เตือน                   รับ                   เริ่ม                  ลึก
ตื้น                      จืด                   กร่อย              เค็ม
ลวง                     ตรอง              เหยียบ            โจ๊ก
 
 







๔.     นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคำจากชุดคำในข้อ ๓ มาเรียบเรียงเป็นประโยค  เชื่อมโยงให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน แล้วนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

  
 ขั้นที่ ๓ ฝึกฝนผู้เรียน
๑.      นักเรียนทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านสะกดคำที่มีมาตราตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด แล้วช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
๒.    นักเรียนทำใบงานที่ ๑ เรื่อง คำที่มีตัวสะกดตรงตามาตราตัวสะกด แล้วช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
๓.     แบ่งนักเรียนออกเป็น ๘ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาจับสลากหัวข้อมาตราตัวสะกด ๘ แม่ แล้วอ่านนิทานอีสปเรื่อง หมาจิ้งจอกกับแพะ เพื่อรวบรวมคำในมาตราตัวสะกดที่จับสลากได้
๔.     นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน แล้วให้เพื่อนกลุ่มอื่นช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
     ขั้นที่ ๔ นำไปใช้
นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในการอ่านและเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดในประโยค หรือข้อความที่พบในชีวิตประจำวัน   
    ขั้นที่ ๕ สรุป
นักเรียนช่วยกันสรุปเรื่อง คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด แล้วบันทึกลงสมุด

๘. กิจกรรมเสนอแนะ
                นักเรียนรวบรวมคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดในหนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น แล้วนำมาทำเป็นสมุดอ่านสะกดคำ

๙. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
๑.    แถบข้อความ
๒.   ชุดคำฝึกอ่าน
๓.   สลาก
๔.    ใบงานที่ ๑ เรื่อง คำที่มีตัวสะกดตรงตามาตราตัวสะกด
๕.   สื่อการเรียนรู้ ภาษาไทย สมบูรณ์แบบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เล่ม ๑
        บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
๖.    หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
        บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
๗.   แบบฝึกหัด รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ 
        บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด


 



 
ภาพจาก www.ccscat.ac.th 

 

วิดีโอ มาตราตัวสะกด





ขอบขอบคุณ
   คณะผู้เขียน                       
                  สุระ ดามาพงษ์ กศ.บ., กศ.ม.
                  ทัศนีย์ ล้วนสละ ศศ.บ. 
                  พูนพิพัฒน์ สถาวระ ศศ.บ.


1 ความคิดเห็น:

  1. ฉันรู้สึกขอบคุณดร. คารามที่ช่วยฉันชนะการจับสลาก ฉันได้เล่นหวยสำหรับ 5yrs ตอนนี้และฉันไม่เคยได้รับรางวัลอะไรและฉันก็ผิดหวังมากและฉันต้องการเงินเพื่อช่วยครอบครัวของฉัน ฉันกำลังมองหาความช่วยเหลือเพื่อชนะและฉันก็ออนไลน์และฉันเห็นประจักษ์พยานที่ดีมากเกี่ยวกับดร. Kumar เกี่ยวกับวิธีการที่เขาช่วยให้คนที่จะชนะการจับสลากและฉันสัญญากับตัวเองว่าฉันจะให้เขาลองและถ้าเขาช่วยฉันฉันก็จะ เผยแพร่ชื่อของเขาในสุทธิสำหรับคนที่จะเห็นและได้รับความช่วยเหลือจากเขาซึ่งฉันทำตอนนี้โดยการเขียนพยานหลักฐานนี้ฉันติดต่อเขาและเขาโยนสะกดตัวเลขที่ชนะและให้พวกเขาให้ฉันเล่นและฉันซื้อตั๋วและเล่นของฉัน เห็นฉันได้รับรางวัล $ 120,000,000 หากคุณต้องการความช่วยเหลือจากเขาในการชนะการจับสลากนี่คืออีเมลของเขา: spellcasttemple@gmail.com หรือคุณสามารถโทรหาเขาได้ที่ +2347051705853 ฉันจะยินดีเป็นอย่างยิ่งที่คุณ Dr Kumar สำหรับสิ่งที่คุณทำกับฉันอีเมลเขาที่ SPELLCASTTEMPLE@GMAIL.COM

    ตอบลบ